คำว่า Hypoallergenic เริ่มมีการนำมาใช้ในปี 1950 ซึ่งใช้อ้างถึงเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่าเครื่องสำอางค์อื่นๆ ในเประเภทเดียวกันคำว่า Hypoallergenic เริ่มมีการนำมาใช้ในปี 1950 ซึ่งใช้อ้างถึงเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่าเครื่องสำอางค์อื่นๆ ในเประเภทเดียวกันคำว่า Hypoallergenic เริ่มมีการนำมาใช้ในปี 1950 ซึ่งใช้อ้างถึงเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่าเครื่องสำอางค์อื่นๆ ในเประเภทเดียวกัน โดยดูจากองค์ประกอบของเครื่องสำอางค์นั้น เช่น ไม่มีส่วนประกอบของน้ำหอม ใช้ส่วนประกอบที่เป็นธรรมชาติ มีการทดสอบโดยแพทย์ผิวหนัง หรือ มีการระบุว่าปลอดภัยต่อผิวแพ้ง่าย (sensitive skin) เป็นต้น ต่อมาในปี 1974 องค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ออกข้อกำหนคดเกี่ยวกับการกล่าวอ้าง “Hypoallergenic”
โดยต้องมีการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีอัตราการเกิดผลข้างเคียงต่อผิวหนังของมนุษย์น้อยกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ได้มีการกล่าวอ้าง Hypoallergenic ต่อมาภายหลัง USFDA ได้ยกเลิกข้อกำหนดการกล่าวอ้าง Hypoallergenic เนื่องจากมีความซับช้อนและมีปัญหาทางด้านกฎหมาย อย่างไรก็ตาม 86% ของแพทย์ผิวหนังยังเห็นด้วยกับแนวคิดของ Hypoallergenic cosmetics เนื่องจาก ในผู้บริโภคบางกลุ่ม เช่น เด็ก หรือ ผู้สูงอายุที่ผิวบอบบาง ผู้ป่วยโรคผิวหนังที่แพ้ง่าย คนที่แพ้น้ำหอม และสารกันเสียต่างๆ ยังมีความต้องการเครื่องสำอางค์ประเภทนี้และมีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากการระบุ Hypoallergenic บนฉลากผลิตภัณฑ์
ต่อมาในปี 1988 จึงได้มีการคิดระบบตรวจสอบที่มีชื่อว่า “Validated Hypoallergenic (VH)” ขึ้น โดยอ้างอิงจากรายงานสารก่อภูมิแพ้ในเครื่องสำอางค์ที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ผิวหนังโดยการสัมผัส (Cosmetic contact dermatitis) ซึ่งกระบวนการของ VH ประกอบด้วย 1. การสร้างฐานข้อมูลสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อผิวหนังมากที่สุดจากการทดสอบด้วยวิธี Patch Test (การทดสอบการแพ้ของผิวหนังโดยการแปะสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง) 2. เทียบส่วนประกอบของเครื่องสำอางค์กับฐานข้อมูลสารก่อภูมิแพ้ที่กำหนดและทำการให้คะแนน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีคะแนนยิ่งสูง จะยิ่งมีสารกอภูมิแพ้น้อย ยิ่งมีคุณสมบัติ Hypoallergenic มากขึ้น ซึ่งสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในฐานข้อมูล VH ดังแสดงในตารางที่ 1
ปัจจุบันการทดสอบ Hypoallergenic ที่นิยมใช้วงการเครื่องสำอางค์ คือ Human Repeat Insult Patch Test (HRIPT) โดยทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี Patch Test ซึ่งจะทำการแปะผลิตภัณฑ์ที่ผิวหนังบริเวณหลังส่วนบน ของผู้ทดสอบอย่างน้อย 50 คน โดยระยะเวลาที่แปะ 24-48 ชั่วโมง และมาแปรผลโดยดูจากปฏิกิริยานูนแดงบนผิวหนังที่ 48 ชั่วโมง จากนั้นจะทการทดสอบซ้ำรวมจำนวนทั้งหมด 9 ครั้ง และจะทำการพัก 10-21 วัน และกลับมาทำการทดสอบที่ต่างบริเวณ 1 ครั้ง รวมระยะเวลาการทดสอบทั้งหมดประมาณ 6 สัปดาห์ และผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับการรับรองจากแพทย์ผิวหนัง
ตารางที่ 1 รายชื่อสารก่อภูมิแพ้ Validated Hypoallergenic 76 ชนิด (Updated 2010)
ที่มา : Verallo-Rowell VM, 2011
ผู้เรียบเรียง:
1. อ.ดร.ณัฐธิดา โชติช่วง, อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. น.ท.หญิง พญ. วรรณรวี ไทยตระกูล, โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
เอกสารอ้างอิง:
1. Marzulli F. and Maibach H. Dermatoxicology Methods. Published Taylor & Francis 1. 5th edition. 1997.
2. McNamee P. et al. A review of critical factors in the conduct and interpretation of human repeat insult patch test. Regulatory Toxiciology and Pharmacology. 2008. 52: 24-34.
3. Verallo-Rowell VM. The validated hypoallergenic cosmetics rating system: Its 30-year evolution and effect on the prevalence of cosmetic reactions. Dermatitis. 2011. 22: 80-97.